วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Dead-man control ระบบป้องกันอุบัติเหตุจากเครื่องมือช่าง


     สวัสดีท่านผู้อ่าน บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง (toolsth) ทุกท่านครับ หลังจากที่ผมหยุดอัพบทความเครื่องมือช่างมานาน วันนี้ผมจะมาอัพบทความดี ๆ เกี่ยวกับระบบป้องกันอุบัติเหตุจากเครื่องมือช่าง ซึ่งเค้าเรียกกันว่า Dead-man control กันครับ
     Dead-man control เป็นระบบที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องมือช่างของเราเนี่ยแหละครับ ซึ่งรวมไปถึงเครื่องจักร และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งานครับ โดยที่ระบบนึ้ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ในเฉพาะเวลาที่ผู้ใช้มีสติ และสมาธิครบถ้วนเท่านั้นนะครับ ซึ่งถ้าหากผู้ใช้งานกำลังทำงานอยู่กับเครื่องมือช่าง แล้วมีจิตใจที่เหม่อลอย ไม่มีสมาธิระหว่างการทำงาน ก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้ง่ายกว่าผู้ที่ทำงานอย่างมีสติครับ
     โดยระบบ Dead-man control จะมีหน้าที่ทำให้ เครื่องมือช่างของเราทำงานได้เฉพาะผู้ควบคุม และผู้ใช้งานเครื่องมือช่างด้วยการกด เหยียบ บีบ หรือด้วยวิธีอื่น ๆ ที่เป็นการควบคุมเครื่องมือช่างเท่านั้น ยกตัวการนำเอา Dead-man control มาใช้ร่วมกับเครื่องมือช่าง
- การนำระบบ Dead-man control มาใช้กับเครื่องเจียรที่สวิทซ์เปิด หรือปิดเครื่องจะถูกปลดล็อกโดยจะทำการบังคับให้ผู้ใช้งานต้องเอานิ้วโป้งดันสวิทซ์ตลอดเวลาที่ใช้งานเครื่องเจียร ซึ่งถ้าหากผู้ใช้เกิดไม่มีสมาธิระหว่างการใช้เครื่องเจียร ผู้ใช้ก็จะปล่อยนิ้วออกจากสวิทซ์เปิดเครื่องเจียร เครื่องเจียรก็จะหยุดการทำงานลงอันเป็นผลที่เกิดจากระบบ Dead-man control ที่บังคับให้ผู้ใช้ต้องคอยใช้นิ้วโป้งดันสวิทซ์ไว้ตลอด เช่นเดียวกัน ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานเครื่องเจียร ผู้ใช้งานเครื่องเจียรก็จะปล่อยนิ้วออกจากปุ่มสวิทซ์ เครื่องเจียรก็จะหยุดการทำงาน ทำให้ความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุลดลง

     สำหรับการนำระบบ Dead-man control มาใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเครื่องมือช่างต่าง ๆ ในสถานประกอบการต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย แต่อย่างไรก็ดี เราควรที่จะใช้เครื่องมือช่างอย่างมีสติ และมีความรอบคอบอยู่ตลอดเวลาครับ เพราะระบบ Dead-man control สามารถช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้เพียงแค่ระดับนึงเท่านั้นครับ

อ้างอิงจาก บูมทูลส์ ศูนย์รวมเครื่องมือช่าง, Thaisafetywork เว็บบอร์ดความปลอดภัยในการทำงาน

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำเทคนิคการใช้เลื่อยลันดา

     สวัสดีท่านผู้อ่าน บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง (toolsth) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง ทุกท่านครับ ซึ่งวันนี้ผมนั้นค่อนข้างอารมณ์ดีเป็นพิเศษครับอันเนื่องมาจากว่าบล็อกรอบรู้เครื่องมือช่างของผมได้ติดอันดับ Google อยู่ในหน้า 2 แล้ว >< วันนี้เลยฉลองเปลี่ยน Wallpaper ของบล็อกรอบรู้เครื่องมือช่างใหม่ซะเลย โดย Wallpaper ที่ผมเปลี่ยนก็จะสื่อถึงความหมายของบล็อกรอบรู้เครื่องมือช่างครับ สังเกตได้จาก Wallpaper ที่มีรูปของเครื่องมือช่างอยู่ครับ
     สำหรับในวันนี้ผมจะยังคงนำเสนอเนื้อหาเครื่องมือช่าง เลื่อย กันต่อไปนะครับ โดยบทความในวันนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเทคนิคในการใช้เลื่อยลันดาครับ ซึ่งบทความในครั้งนี้ก็จะเป็นบทความสั้น ๆ เหมือนเดิมครับ เอาละครับผมเกิ่นมาเยอแล้ว เรามาเข้าเนื้อหาหลักกันเลยดีกว่าครับ

     1. เริ่มแรก ควรเริ่มเลื่อยโดยชักคันเลื่อยเข้าหาตัวเราแล้วดันออกเพื่อให้ฟันเลื่อยตัดไม้ ใช้นิ้วโป้งเป็นแนวบังคับในตอนเริ่มให้อยู่ในแนวการตัด

     2. เมื่อเลื่อยจนใกล้จะเสร็จแล้ว ให้ประคองชิ้นงานที่ถูกตัดออกด้วยมือที่ว่าง แล้วค่อย ๆ เลื่อยตัดชิ้นงานจนขาด ฟันเลื่อยจะตัดชิ้นงานในจังหวะที่ดันเลื่อยออกจากตัวเรา

     3. สำหรับการตัดไม้ให้มีขนาดเท่ากัน สามารถทำได้โดยการวัดขนาด และขีดเส้นแนวการตัด สำหรับการเลื่อยชิ้นงานให้ติดกันด้วยแคล้มป์ และวางใบเลื่อยให้อยู่ในด้านที่ต้องการตัดทิ้ง

     4. การเลื่อยฝ่าไม้ตามแนวยาววัดขนาด และตีเส้นแนวการเลื่อย แล้วเลื่อยตามแนวไปเรื่อย ๆ ให้นำไม้ลิ่มมาแทรกระหว่างร่องเลื่อย เพื่อไม่ให้ไม้หนีบใบเลื่อยขณะเลื่อย

อ้างอิงจาก Homedd

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีการเลือกซื้อเลื่อยให้ตรงกับความต้องการ

     สวัสดีครับคุณผู้อ่าน toolsth (บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง หลังจากที่บทความเครื่องมือช่างเรื่องก่อนผมพูดถึงเครื่องมือช่าง "เลื่อย" ไป วันนี้ผมก็เลยจะมาเขียนบทความเครื่องมือช่างเรื่องวิธีการเลือกซื้อเลื่อยกันครับ ซึ่งบทความเครื่องมือช่างนี้จะเป็นบทความสั้น ๆ ครับ ^^ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมเข้าเรื่องเลยดีกว่าครับ
     สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะซื้อเลื่อยยังไงดีให้ตรงกับความต้องการ และการใช้งานให้ถูกประเภท วันนี้ผมจะนำเสนอวิธีการเลือกอย่างคร่าว ๆ นะครับ
ขั้นตอนที่ 1 ควรดูลักษณะการใช้งานของเราก่อนครับ ว่าเหมาะที่จะใช้เลื่อยกับงานประเภทใด เช่น ถ้าต้องการตัดงานฝีมือ มีลวดลายคดเคี้ยว เราก็ควรที่จะเลือกเลื่อยฉลุหรือเลื่อยหางหนูครับ หรือเราต้องการใช้เลื่อยในการเลื่อยไม้ที่มีขนาดใหญ่ เช่นท่อนไม้ เราก็ควรใช้เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศรครับ
ขั้นตอนที่ 2 ถ้าเรามีความต้องการใช้เลื่อยที่ใช้งานได้กว้างขวาง สำหรับการตัดไม้ทั่ว ๆ ไป ควรที่จะเลือกเลื่อยลันดาหรือเลื่อยลอครับ ซึ่งสามารถตัดไม้ได้ทั้งแบบขวางเสี้ยนไม้ และตามเสี้ยนไม้ครับ
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกลักษณะฟันเลื่อย ควรเลือกแบบที่เป็นฟันถี่พอสมควร จะได้ผิวการตัดที่ละเอียด ไม่แตกหยาบ
ขั้นตอนที่ 4 ขนาดของคันเลื่อย หรือตัวเลื่อย ควรจะเลือกขนาดที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งเลื่อยมีหลายขนาดโดยหน่วยจะเป็นนิ้ว ควรทดลองจับท่าเลื่อยดูว่าเหมาะสมกันหรือไม่

อ้างอิงจาก Homedd

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำชนิด และลักษณะของเลื่อย ตอนที่ 2


     สวัสดีท่านผู้อ่าน toolsth บล็อก (บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง หลังจากที่สัปดาห์ก่อน(หน้านู้น)ผมได้แนะนำชนิด และลักษณะของเลื่อยตอนที่ 1 สำหรับสัปดาห์นี้ผมก็ยังยังนำเสนอบทความความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่างเรื่อง ชนิด และลักษณะของเลื่อยกันต่อนะครับ (แต่เป็นตอนที่  2 นะครับ)
6. เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก เช่น การตัดท่อนไม้ขนาดต่าง ๆ หรือใช้ตัดต้นไม้ เลื่อยโครงเหล็กตัวโครงเป็นเหล็กกลวงน้ำหนักเบา ใบเลื่อยถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ใบเลื่อยสามารถตัดได้ทั้ง 2 ทาง

7. เลื่อยตัดมุมหรือเลื่อยองศา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวใบ และแท่นเลื่อย ลักษณะของใบเลื่อยจะเหมือนเลื่อยบังตอ ส่วนแท่นเลื่อยจะประกอบไปด้วย แป้นบอกองศา โครงจับใบเลื่อย ช่องบังคับใบ เลื่อย และแท่นรองรับใช้กับงานเข้ามุมต่อกันให้สนิท เหมาะกับงานตัดคิ้วบัว หรือการทำกรอบรูป
8. เลื่อยลันดา พบเห็นกันบ่อยที่สุด เพราะเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานของงานช่างไม้ เลื่อยลันดามีความยาวที่ 14, 26 เลือกใช้ตามขนาดหน้าตัดของไม้ สามารถแบ่เป็น 3 ชนิด คือ ชนิดฟันตัด มีลักษณะฟันที่ค่อนข้างพี่ ใช้สำหรับตัดขวางเนื้อไม้เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ ไม่เป็นเสี้ยน ชนิดฟันหยาบ จะมีลักษณะฟันที่หยาบ สามารถตัดได้เร็ว ใช้สำหรับตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ซึ่งฟันที่ห่างทำให้เกิดหน้าตัดที่หยาบ ความยาวทั่วไปคือ 26 ชนิดฟันอเนกประสงค์ จะมีฟันถี่พอสมควร ความยาว 26 ใช้งานได้สะดวกทั้งการตัดขวางและการตัดตามแนวยาว
9. เลื่อยบังตอ เหมาะสำหรับงานตัดหัวไม้เพื่อทำเดือยต่อต่าง ๆ ด้านสันของใบเลื่อยมีครอบเหล็กแข็ง กันใบเลื่อยบิดตัวขณะเลื่อย ทำให้ได้รอยตัดที่มีแนวเที่ยงตรง ใบเลื่อยยาว 8, 14
10. เลื่อยตัดไม้อัด ใช้สำหรับตัดไม้อัดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีขนาดฟันที่เล็ก ซึ่งช่วยลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ทั้ง 2 ด้าน ที่ปลายจะเป็นสันโค้งพร้อมมีฟันเลื่อยอยู่ด้วย ใช้สำหรับตัดส่วนอื่นที่ไม่ใช้ขอบของไม้อัดโดยไม่ต้องใช้สวว่านเจาะรูนำก่อนใบเลื่อย ยาว 11
อ้างอิงจาก Homedd

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำชนิด และลักษณะของเลื่อย ตอนที่ 1


     สวัสดีท่านผู้อ่าน toolsth บล็อก (บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง สำหรับบทความความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่างที่ผมจะนำเสนอในวันนี้คือเรื่อง ชนิด และลักษณะของเลื่อยครับ

1. เลื่อยเหล็ก
     เลื่อยเหล็กเป็นเลื่อยที่เอาไว้ใช้กับงานเหล็กเป็นหลัก หากเราเอาไปใช้เลื่อยไม้ จะเลื่อยได้ช้ามาก เพราะฟันเลื่อยจะไม่ลึก ละเอียด ตัวโครงของเลื่อยเหล็กจะทำมากจากเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบา มีแบบความยาวที่มาตรฐาน และแบบสามารถปรับความยาวได้ตามขนาดของใบเลื่อยได้ เลื่อยเหล็กสามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เวลาใส่ต้องหันปลายฟันเลื่อยชี้ออกนอกตัวผู้เลื่อยเสมอ


2. เลื่อยพับขนาดกระเป๋า
     เลื่อยพับขนาดกระเป๋าจัดเป็นเลื่อยอเนกประสงค์ที่มีฟันแข็งเป็นพิเศษ สามารถตัดได้ทั้งไม้ พลาสติก โลหะ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของเลื่อยพับขนาดกระเป๋าคือ สามารถพับเก็บไว้ได้ ทำให้สามารถพกพาได้สะดวก และยังพกพาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้อีกด้วย


3. เลื่อยหางหนู
     เลื่อยหางหนูแบ่งได้ตามขนาดของใบเลื่อยอีกหลากหลายขนาด สามารถใช้ได้กับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน หรือใช้สำหรับตัดเจาะผนังยิปซั่มก็ยังได้


4. เลื่อยหางหมู
     เลื่อยหางหมูมีใบเลื่อยที่ลักษณะใหญ่ที่โค้น และที่ปลายเรียวแหลม เลื่อยหางหมูมีความกว้างที่หลากหลายขนาด บางรุ่นสามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน


5. เลื่อยฉลุ
     เลื่อยฉลุใช้กับงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย ตัวกรอบเขงอเลื่อยฉลุทำด้วยโลหะ ใบเลื่อยค่อนข้างเล็กมาก มีความอ่อนตัว สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทาง เลื่อยฉลุมี 2 ชนิดคือ ชนิดคอลึก ใช้ตัดเข้าไปในชิ้นงานได้มากกว่า เหมาะสำหรับไม้ที่ไม่หนามากนัก มีฟันที่ละเอียด และชนิดคอตื่น เหมาะสำหรับงานฉลุไม้ที่ชิ้นไม่ใหญ่นัก มีฟันค่อนข้างละเอียด



     สำหรับวันนี้เรารู้จักเลื่อยไปก่อน 5 ชนิดนะครับ ไว้สัปดาห์หน้าผมจะมานำเสนอชนิดของเลื่อยกันต่อในตอนที่ 2 นะครับ สำหรับวันนี้ผมต้องขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ
อ้างอิงจาก Homedd

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Boomtools Machinery ศูนย์รวมเครื่องมือช่าง


     วันนี้ขอนอกเรื่องเกี่ยวกับความรู้ของเครื่องมือช่างกันซะหน่อยครับ แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้นอกเรื่องซะเท่าไหร่นักหรอกครับ เพราะวันนี้ผมจะมาแนะนำร้านที่ขายเครื่องมือช่างครับ (โฆษณาว่างั้นเถอะ 555)
     สำหรับร้านที่ขายเครื่องมือช่างที่ผมจะแนะนำก็คือ Boomtools Machinery ซึ่งเป็นร้านที่นำเข้า และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และเครื่องมือช่างทุกชนิด ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือช่างจากในประเทศหรือเครื่องมือช่างจากนอกประเทศทางร้านของ Boomtools ก็มีหมด นอกจากนี้ทางร้านเค้ายังยินดีรับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องมือช่างให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกด้วย ใครที่กำลังคิดจะซื้อเครื่องมือช่าง แต่ไม่รู้ว่าจะซื้อของยี่ห้อไหนหรือรุ่นอะไรดี สามารถโทรสอบถามกับทางร้าน Boomtools ได้เลยครับ หรือจะสอบจากถามทาง Email ก็ยังได้ครับ สำหรับใครที่อยากจะค้นหาหรืออยากจะเห็นรูปร่างหน้าตาของเครื่องมือช่างแต่ละชนิดด้วยตนเอง ก็สามารถเข้าไปชมกันได้ที่ www.boomtools.net ครับ ซึ่งในเว็บไซต์ได้รวบรวมเครื่องมือช่างมากกว่า 3,000 ชนิด และในตอนนี้ก็เกือบจะ 4,000 ชนิดแล้วครับ ซึ่งแน่นอนว่าทางร้าน Boomtools ไม่ได้ขายแค่นี้แน่ เพียงแต่ตอนนี้ทางร้านเค้ากำลังทยอยลงสินค้ากันอยู่ครับ
     สุดท้ายนี้ผมขอฝากร้านขายเครื่องมือช่าง Boomtools Machinery ร้านนี้กันด้วยนะครับ
บูมทูลส์ แมชชีนเนอรี่
419 อ่อนนุช 66 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
Tel : 02-3213501, 027210560
Fax: 02-3218455, 027211316
Mobile : 081-7345965, 086-5225965
Website : www.boomtools.net

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



ตะไบ (Files) ตอนที่ 1”

     ตะไบเป็นเครื่องมือช่างชนิดหนึ่งที่ทำมาจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง ตะไบมักจะใช้สำหรับการขัดแต่งผิว หรือปาดหน้าชิ้นงานที่ต้องการขจัดเนื้อโลหะทิ้งไปไม่มากนัก ดังนั้น การตะไบ ก็คงจะหมายถึง การตัดเฉือนผิววัสดุงานออกในลักษณะการถากหรือขูดเพื่อลดขนาดของชิ้นงานหรือเพื่อปรับแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อยตามความต้องการ

     ตะไบเป็นเครื่องมือช่างขั้นพื้นฐานที่ทำจากเครื่องมือ (Tool Steel) ด้วยการนำไปขึ้นรูปแล้วจึงนำไปชุบแข็ง(Hardening) ที่ผิวหน้าของตะไบจะมีคมตัดที่เรียกว่า "ฟันตะไบ" ซึ่งฟันตะไบเหล่านี้จะเรียงเป็นแถวขนานกันไปตลอดความยาวของก้านตะไบ และแถวของตะไบนี้จะทำมุมเอียงกับขอบตะไบอีกด้วย

ตะไบมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

1. หน้าตะไบ (Face)  จะเป็นพื้นผิวที่ถูกเครื่องจักรกลขึ้นรูปให้มีคมตัดของตะไบเรียงตัวเป็นแถวซ้อนกันไปตลอดความยาวของหน้าตะไบ

2. ขอบตะไบ (Edge) เป็นความหนาของตะไบ ที่ขอบของตะไบจะมี 2 ชนิด

     2.1 ขอบข้างเรียบ ใช้สำหรับตะไบงานที่ไม่ต้องการให้บอบข้างของตะไบตัดเฉือนเกินเนื้องานขณะที่กำลังปฏิบัติงานตะไบ

     2.2 ขอบข้างมีคม มีลักษณะเป็นฟันหยาบ ๆ ใช้สำหรับขูดผิวงานเพื่อขูดสนิมหรือสิ่งสกปรกที่ผิวหน้างานก่อนจะเริ่มลงมือปฏิบัติงาน

3. ปลายตะไบ (Tip) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของตะไบใช้สำหรับมือข้างที่ไม่ถนัดประคองหรืออกแรงกดเพื่อให้คมตะไบกินเนื้อวัสดุงานมาก-น้อย ได้ตามความต้องการ

4. โคนตะไบ (Heel) เป็นส่วนที่มีการพิมพ์สัญลักษณ์ยี่ห้อของงตะไบและแหล่งที่ผลิตตะไบ อยู่ส่วนปลายด้านล่างของผิวหน้าตะไบติดกับกั่นตะไบ ที่บริเวณโคนตะไบจะไม่มีฟันตะไบอยู่

5. ความยาวตะไบ (Length) ความยาวของตะไบจะวัดจากปลายของตะไบถึงโคนของตะไบที่ผลิตขึ้นมาจะมีขนาดความยาวหลากหลายขนาดให้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของงาน

6. กั่นตะไบ (Tang) มีลักษณะเป็นปลายแหลม กั่นตะไบจะถูกยึดอยู่ภายในด้ามตะไบขนาดใช้งาน

7. ด้ามตะไบ (Handle) อาจเป็นด้ามไม้หรือพลาสติกสวมเข้ากับกั่นตะไบ เพื่อให้มือจับประคอง  ในการปฏิบัติงานด้ามตะไบที่ดีควรมีลักษณะกลมมน ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้นานโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บมือ

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



เครื่องมือช่าง เครื่องขัดพื้น

เครื่องขัดพื้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำความสะอาดพื้น หรือ เครื่องสำหรับปั่นเงาพื้น เราสามารถจำแนกได้หลากหลายประเภท เช่น

·       เครื่องขัดพื้นแบบ Single Disc หมายถึง เครื่องที่มีแปรงขัด และชุดจับใยขัดเป็นแบบจานกลม เพื่อขัดทำความสะอาดพื้น ปกติใช้ความเร็วรอบ 150-175rpm

·       เครื่องปั่นเงาพื้น แบบ Single Dice หมายถึง เครื่องที่มีชุดจับใยขัดเป็นแบบจานกลม เพื่อปั่นเงาพื้น ปกติใช้ความเร็วรอบมากกว่า 1,000 rpm

·       เครื่องขัดพื้นระบบดูดกลับอัตโนมัติ หมายถึง เครื่องขัดพื้น ที่มีถังน้ำดีเพื่อปล่อยน้ำสำหรับการขัดทำความสะอาด และมีระบบดูดน้ำสกปรกกลับใส่ลงในถังน้ำเสีย มีทั้งแบบใช้ไฟฟ้า และ แบตเตอรี่ ซึ่งจำแนกย่อยได้อีก 3 แบบ คือ แบบเดินตาม, แบบยืนขับด้านหลังเครื่อง และแบบนั่งขับบนเครื่อง

ลักษณะของแปรงขัด Roller และ Disc

แปรงขัด Roller สามารถทำความสะอาดตามล่องของพื้นได้สะอาดกว่าแปรงขัด Disc ในขณะที่ แปรงขัด Disc จะขัดทำความสะอาดได้เพียงผิวหน้าของพื้น

ข้อแตกต่างระหว่างแรงกดของแปรงขัด Roller และ Disc

เนื่องด้วยพื้นผิวสัมผัสของแปรงขัด Roller น้อยกว่าแปรงขัด Disc แต่น้ำหนักของเครื่องที่กดลงมีขนาดเท่ากัน ดังนั้น แรงกดของแปรงขัด Roller จึงมากกว่าแรงกดของแปรงขัด Disc ถึง 7 เท่า

วิธีใช้เครื่องขัดพื้น

1.วางเครื่องขัดพื้นให้ราบไปกับพื้น ใต้เครื่องจะมองเห็นตัวล๊อคสามเขี้ยว สำหรับล๊อคแปรง
2.ใส่แปรงให้ตรงกับ3เขี้ยวแล้วหมุนแปรงทวนเข็มนาฬิกาจนสุดตำแหน่งตัวล๊อค
3.วางเครื่องให้ตำแหน่งจานจับทับแผ่นปัดเงาพอดี
4.ใช้มือหมุนคลายลูกบิดล๊อคแกนเพื่อปรับระดับคันบังคับ
5.ปรับระดับคันบังคับให้อยู่ในระดับเดียวกับต้นขา และบิดลูกบิดล๊อกแกนให้แน่น
6.ปล่อยสายไฟฟ้าออกมาเท่ากับระยะที่ใช้งานและเสียบปลั๊กกับเต้าเสียบ
7.กดปุ่มเปิดสวิทซ์ไฟ
8.บีบมือบีบเครื่องจะเริ่มทำงาน หากต้องการให้เครื่องไปทางซ้ายให้กดคันบังคับลงเล็กน้อย หากต้องการให้เครื่องไปทางขวาให้ยกคันบังคับขึ้นเล็กน้อย
9.เมื่อใช้งานเสร็จ กดปุ่มปิดสวิทซ์ และดึงปลั๊กออก พันสายไฟฟ้ากลับที่เดิม และเช็ดทำความสะอาดเครื่อง

วิธีใช้เครื่องรอบสูง

1.วางเครื่องปั่นเงาพื้นให้ราบไปกับพื้น ที่ใต้เครื่องจะมองเห็นตัวหนามจับแผ่นปัดเงา
2.นำแผ่นปัดเงายึดไว้กับหนามจับ และขันตัวล๊อคทวนเข็มนาฬิกาให้แน่น
3.จากนั้นตั้งเครื่องขึ้น และปรับระดับเครื่องปั่นเงาพื้น โดยหมุนตัวปรับระดับแผ่นขัดที่หน้าเครื่อง
4.ขณะที่ปรับระดับแผ่นขัด ใช้มืออีกข้างหนึ่งหมุนที่แผ่นปั่นเงา โดยให้แผ่นสัมผัสพื้น ไม่ควรปรับน้ำหนักมากเกินไป
5.เมื่อปรับระดับเสร็จแล้ว ให้คลายล๊อคลูกิดที่แกนปรับระดับคันบังคับ ให้อยู่ในระดับต้นขา แล้วล๊อคให้แน่น
6.ปล่อย สายไฟฟ้าออกมาเท่ากับระยะที่ใช้งานและเสียบปลั๊กกับเต้าเสียบ ก่อนการทำงาน ควรยกล้อหน้าขึ้นเล็กน้อย แล้วบีบสวืทช์บังคับให้เครื่องทำงานแล้วจึงแตะพื้น
7.การออกตัวให้กดคันบังคับลงให้แผ่นขัดลอยจากพื้นเล็กน้อย ก่อนบีบมือเพื่อเริ่มทำงาน เพื่อถนอมการใช้งานของมอเตอร์ให้ยาวนานขึ้น
8.การปัดเงาให้ดันเครื่องไปข้างหน้า และฉีดน้ำยาปัดเงาพื้น ก็จะได้พื้นสวยเงางาม

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555


ปากกาจับชิ้นงาน
ปากกาจับชิ้นงาน ( Bench Vise ) หรือที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ปากกาจับงาน เป็นเครื่องมือช่างชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับประกอบหรือใช้สำหรับการทำงาน โดยใช้จับ ยึด บีบ อัด ชิ้นงานให้แน่นเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานอื่น ๆ เช่น ใช้จับไม้ โลหะ พลาสติก ฯลฯ เพื่อใช้ในการการตัด ตัดเจาะ ตอก ขัด ตีดัด หรือตะไบ เป็นต้น ปากกาจับชิ้นงานมีหลายชนิด เช่น
1.ปากกาจับโลหะ เป็นปากกาที่ยึดแน่นบนโต๊ะสำหรับใช้งาน ใช้สำหรับจับโลหะให้แน่นเพื่อตัด ขัด เจาะ ตะไบ ลบคม หรือขันชิ้นงานต่างๆ
การบำรุงรักษา
ไม่ควรใช้ปากการองรับเหล็กเพื่อทุบ จะทำให้ปากกาแตกหักได้ง่าย
- ทำความสะอาดทุกส่วนของปากกาจับชิ้นงาน หลังจากทำความสะอาดปากกาจับชิ้นงานเสร็จ ให้ชโลมด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันสนิม
- เมื่อเลิกใช้งานขันปากกาเข้าไปให้มิดชิด
2.ปากกาจับไม้ มีอยู่หลากหลายแบบแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน เช่น
 2.1 ปากกาหัวโต๊ะ เป็นปากกาที่ยึดแน่นอยู่กับด้านข้างหัวโต๊ะใช้งาน ใช้สำหรับจับไม้ในการตัด
การบำรุงรักษา
- เมื่อเลิกใช้งานขันปากกาเข้าไปให้ชิด
- ทำความสะอาดทุกส่วนของปากกาจับชิ้นงาน  หลังจากที่ทำความสะอาดปากกาจับชิ้นงานเสร็จ ให้ใส่จารบีที่เกลียวหมุนของปากกาจับชิ้นงาน
 2.2ปากกาจับไม้ เป็นปากกาสำหรับจับชิ้นงานไม้ อัดชิ้นงานให้เข้าด้วยกัน ซึ่งเหมาะกับงานขนาดเล็ก
การบำรุงรักษา
- เมื่อเลิกใช้งานให้เลื่อนปากกาเข้าชิดกัน ขันเกลียวให้ชิด
- ทำความสะอาดทุกส่วนของปากกาจับชิ้นงาน หลังจากที่ทำความสะอาดปากกาจับชิ้นงานเสร็จ ให้ชโลมน้ำมัน และทาจารบีที่เกลียวของปากกาจับชิ้นงานไว้ให้ชุ่ม
 2.3 ปากกาจับไม้ เป็นปากกาจับชิ้นงานที่มี 2 ส่วนเป็นไม้ เลื่อนเข้าหากันโดยใช้ เกลียวน๊อตขนาดใหญ่เป็นไม้หรือเป็นน๊อตโลหะ ซ้าย ขวา ใช้สำหรับบีบ อัด ไม้แผ่นเข้าหากันให้แน่น
การบำรุงรักษา
- เมื่อเลิกใช้ทำความสะอาดทุกส่วนของปากกาจับชิ้นงาน
- ขันเกลียวน๊อตทั้ง 2 ข้าง ให้ตัวปากกาเข้าหากันให้แน่น
- ทาจารบีที่เกลียวน๊อต (โลหะ)
 2.4ปากกาอัดไม้หรือแม่แรงอัดไม้ เป็นปากกาจับชิ้นงานที่ใช้สำหรับในการอัดไม้เข้าหากันให้แน่น เช่น การอัดพื้น อัดไม้แผ่น อัดประกอบชิ้นงาน มีขนาดความยาวติดเป็นเมตร เช่น 1 เมตร 0.50 เมตร 2.00 เมตร เป็นต้น
การบำรุงรักษา
  1. เมื่อเลิกใช้ให้เลื่อนปากกาเข้าชิดกัน แล้วขันเกลียวให้ชิด
  2. ทำความสะอาดทุกส่วนของปากกาจับชิ้นงาน หลังจากที่ทำความสะอาดปากกาจับชิ้นงานเสร็จ ให้ชโลมน้ำมัน และทาจารบีที่เกลียวของปากกาจับชิ้นงาน
  3. เลื่อนหน้าจับไม้ด้านท้ายเข้าหาด้านหน้า แล้วขันเกลียวให้หน้าทัง 2 ชิดกัน
  4. ไม่ใช้ปากกาอัดไม้เป็นที่รองรับในการทุบเหล็ก หรือทุบตะปู
 2.5 ซีแคลม (C-clamp) เป็นเครื่องมือรูปตัว C ทำด้วยเหล็กหล่อ ใช้สำหรับจับงานโลหะเพื่อการเชื่อม จับงานไม้สำหรับในการอัดไม้แผ่นติดกัน มีขนาดความโตเป็นนิ้ว
การบำรุงรักษา
- หน้าสัมผัสจับงานให้เรียบอยู่เสมอ
- เกลียวทาจารบีเสมอ
- อย่าใช้แรงอัดมากเกินไป อาจทำให้หักได้
- ไม่ใช้รองรับในการทุบเหล็กหรือตะปู
3. ปากกาจับไม้ติดโต๊ะ สำหรับจับไม้เวลาวัด ตัด
การบำรุงรักษา
-ต้องคอยทำความสะอาด และหยอดน้ำมันกันเสนิมอยู่เสมอ
อ้างอิงจาก  www.boomtools.net


เครื่องมือช่าง ไขควง(Screwdriver)


            ไขควง เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่เราสามารถพบเจอได้ทั่วไป ใช้สำหรับการขันนอต และสกรู ที่ด้ามจับจะมีฉนวนหุ้มเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยขนาด และรูปทรงของไขควงจะถูกออกแบบตามลักษณะการใช้งาน ไขควงประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ด้ามไขควง(Handle) ก้านไขควง(Blade or Ferule) และปากไขควง(Tip)

                ด้ามไขควง – ถูกออกแบบให้มีรูปทรงที่สามารถจับได้อย่างถนัดมือ การบิดไขควงไปมาสามารถทำโดยใช้แรงได้มากสุด โดยส่วนใหญ่แล้วด้ามของไขควงจะทำจากวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ไม้ พลาสติก หรืออาจทำจากโลหะบางชนิด ก็ตามแต่ลักษณะการใช้งานครับ

                ปากไขควง – ปากไขควงทำจากเหล็กกล้าเกรดดี อาจจะเป็นทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ได้ โดยเหล็กกล้าเหล่านี้จะถูกนำไปตีขึ้นรูปให้ลาดแบน และชุบแข็งด้วยความร้อน ในส่วนที่ไม่ได้ตีขึ้นรูป ก็จะกลายเป็นก้านไขควง

                ก้านไขควง – สำหรับไขควงที่เป็นก้านกลม จะใช้สำหรับงานเบา ส่วนไขควงที่เป็นก้านเหลี่ยม ก็จะใช้สำหรับงานหนัก เพราะก้านที่เป็นเหลี่ยมของมันจะสามารถใช้ประแจหรือคีมจับเพื่อเพิ่มแรงบิดของงานได้นั่นเอง

ไขควงมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1.    ไขควงปากแบน คือ ไขควงที่มีลักษณะปากแบนเป็นเส้นตรง ลาดเอียงไปยังสุดของปลายไขควง ใช้ไขสกรูที่เป็นร่องเส้นเดียว
2.     ไขควงปากแฉก คือ ไขควงที่มีลักษณะปากเป็นสี่แฉก

ใช้ไขสกรูที่มีร่องของสกรูเป็นสี่แฉก เวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากว่าไขควงปากแบน เพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดออกจากร่อง

นอกจากไขควงทั้ง 2 ประเภทนี้แล้ว ก็ยังมีไขควงอีกหลายประเภท ที่เป็นที่รู้จักกันเฉพาะในวงการช่าง เช่น

ไขควงปากบล็อก คือ ไขควงที่มีลักษณะปากเป็นบล็อกหกเหลี่ยม ใช้สำหรับสกรูที่มีร่องเป็นหกเหลี่ยม

ไขควงหัวคลัตช์ คือ ไขควงที่ใช้เฉพาะสำหรับงานโลหะแผ่น และงานตบแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม

ไขควงเยื้องศูนย์ หรือ ไขควงออฟเสท คือ ไขควงที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับงานที่ไขควงปากแบนและไขควงปากแฉกใช้งานไม่ได้ เช่น ตามซอกมุมต่างๆ ไขควงชนิดนี้จะมีปากไขควงอยู่ที่ปลายก้านไขควงทั้งสองด้าน และก้านไขควงที่อยู่ตรงกลางทำหน้าที่เป็นด้ามไขควงด้วย แต่การใช้งานไขควงประเภทนี้จะต้องระวังหน่อย เพราะไขควงประเภทนี้จะหลุดออกจากสกรูได้ง่าย และทำให้สกรูเสียหายได้

                ก่อนจะใช้งานไขควงแต่ละครั้ง จะต้องตรวจสอบสภาพไขควงให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานทุกครั้ง คือ ปากไขควงจะต้องเรียบ ไม่มีรอยบิด เพราะไขควงที่ชำรุดสึกหรอ ไม่เรียบตรง ปากมีรอยบิดหรือแตกร้าว เมื่อไขควงเหล่านี้ถูกนำไปใช้งาน ปากของไขควงจะไม่สามารถสัมผัสกับร่องของหัวสกรูได้เต็มที่ เมื่อผู้ใช้งานออกแรงบิด ปากไขควงอาจเกิดการลื่นหลุดออกจากหัวสกรูและก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1.  ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัด ค้อน หรือสิ่ว

2.  ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน เพราะอาจเกิดการพลาดพลั้งกระแทกมือได้

3.  ควรเลือกใช้ไขควงที่มีลักษณะปากตรงกับชนิดของหัวสกรู

4.  การใช้ไขควง ควรจับที่ด้ามของไขควง ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู

5.  ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที

6.  หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด

7.  เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

อ้างอิงจาก www.boomtools.net

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555


"คีม"

 (Pliers)

                คีม เป็นเครื่องมือช่างขนาดเล็กที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีความจำเป็นต่องานช่างหลาย ๆ สาขา ไม่ว่าจะเป็น ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา หรือช่างโลหะ เราใช้คีมสำหรับงาน จับ ดัด ตัด งอ โค้ง และการขึ้นรูปชิ้นส่วนของอุปกรณ์ ซึ่งส่วนมากจะใช้ในงานตัดวัตถุที่ไม่แข็งแรงมากนัก เช่น สายไฟ หรือ ลวด เป็นต้น
                คีมที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีฉนวนหุ้มที่ด้ามจับทั้ง 2 ขา ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน โดยคีมแต่ละชนิดจะมีรูปร่าง และขนาดที่แตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน คีมบางชนิดจะถูกออกแบบขึ้นเพื่อการใช้งานที่หลากหลาย เช่น สามารถใช้ได้ทั้งงานจับ และตัดชิ้นงาน คีมบางชนิดจะมีข้อต่อเลื่อนเพื่อใช้ในการปรับขนาดความกว้างของปากในการจับชิ้นงานได้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
                การแบ่งประเภทและการเรียกชื่อของคีม จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1.               คีมปากจระเข้ หรือ คีมปากรวม (บางท่านอาจเรียกว่าคีมใช้หลายอย่าง เป็นเครื่องมือช่างที่มีลักษณะการนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย คือ สามารถจับชิ้นงาน และมีฟันสำหรับใช้ตัดชิ้นงานอยู่ภายในตัวเดียวกัน ปากด้านในมีลักษณะแบน มีร่องฟันช่วยให้จับชิ้นงานได้โดยไม่ลื่น สามารถใช้ตัดลวด และสายไฟได้ดี

2.               คีมปากนกแก้ว หรือ คีมตัด เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับงานตัดโดยเฉพาะ ปากคีมมีลักษณะคล้ายกับปากนกแก้ว ส่วนปลายของปากจะมีลักษณะเป็นคมตัดโดยหันขวางกับด้านคม ที่ด้ามจับมีฉนวนหุ้มเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ใช้สำหรับตัดเหล็ก เส้นลวด คีมชนิดนี้ไม่สามารถจับชิ้นงานได้

3.               คีมปากจิ้งจก หรือ คีมปากยาว เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับการจับชิ้นงานขนาดเล็ก หรือในส่วนที่แคบที่คีมปากจระเข้ไม่สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้คีมปากจิ้งจกยังสามารถใช้ในการดัด โค้งงอสายได้อีกด้วย
 วิธีใช้และวิธีบำรุงรักษา
1. ควรใช้คีมให้เหมาะกับงาน
2. ไม่ควรใช้คีมแทนค้อน หรือใช้ค้อนตีลงบนคีม เพราะคีมอาจจะเสียหายได้
3. ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว เพราะอาจจะทำให้ปากคีมเสียหาย
4. ไม่ควรใช่คีมในการตัดวัสดุที่มีความแข็ง ตัวตะปู สกรู หรือสายไฟขนาดใหญ่ เพราะอาจจะทำให้ปากคีมหมดสภาพความคม
5. ปากของคีมไม่ควรใช้ในงานงัดแงะสิ่งของ เพราะจะทำให้ปากของคีมหักเสียหายได้
6. ไม่ควรให้คีมโดนน้ำหรือเก็บในที่ชื้น
7. ควรตรวจสภาพฉนวนหุ้มก่อนใช้งาน
8. เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
อ้างอิงจาก www.boomtools.net

ค้อน


“ค้อน”

(HAMMER)

                ค้อน เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับทุบหรือตอกลงบนวัตถุอื่น ๆ ค้อนสามารถแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ชนิดตามรูปร่างและลักษณะการใช้งาน ตัวอย่างเช่น
1.               ค้อนหงอน (Hammer tool)เป็นค้อนที่ใช้สำหรับตอก ส่วนหัวของค้อนหงอนสามารถใช้ถอนตะปูได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ค้อนหงอนในการตอกสิ่ว และตอกไม้เวลาทำโครงร่างได้อีกด้วย
2.               ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer)เป็นค้อนที่นิยมใช้กันมากที่สุด ลักษณะทั่วไปของค้อนหัวกลมจะมีหน้าเรียบ ส่วนหน้าตัดจะมีลักษณะกลม ผิวนูนโค้งเล็กน้อย สามารถใช้งานได้ทั้งสองหน้า  ค้อนหัวกลมจะถูกใช้ในงานเคาะ ขึ้นรูป และย้ำหมุดทั่วไป
3.               ค้อนไม้ (Mallet) - เป็นค้อนที่ไม่ได้ทำมาจากโลหะ แต่ทำจากเนื้อไม้แข็งแทน จึงทำให้มีความยืดหยุ่นดีกว่าเหล็ก เมื่อใช้เคาะชิ้นส่วนใด ๆ จึงไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสียหายน้อยมาก
4.               ค้อนสำหรับนักธรณีวิทยา (Geological hammer) เปรียบเสมือนได้ดั่งอาวุธประจำตัวของนักธรณี เนื่องจากเวลานักธรณีจะเก็บตัวอย่างหินกลับไปศึกษา จะต้องใช้ค้อนทุบให้เศษหินแตก ดังนั้นค้อนธรณีจึงเป็นต้องทำจากเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรง และมีความทนทานมาก ลักษณะของหัวค้อนธรณี ก็จะมีด้านหนึ่งทู่เพื่อไว้ทุบ และอีกด้านหนึ่งของหัวค้อนจะแบนและแหลมเพื่อใช้ขุด ถาก งัด หรือเจาะ
5.               ค้อนเดินสายไฟ (Electrician Hammer) ส่วนใหญ่จะใช้กับงานไฟฟ้า หัวค้อนทำด้วยเหล็ก มีปลายด้านหนึ่งหน้าเรียบตรง และอีกด้านหนึ่งแบนแหลม สามารถใช้ตอกในที่แคบได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ค้อนเดินสายไฟกับการตอกตะปูเฟอร์นิเจอร์เล็ก ๆ ได้อีกด้วย
6.               ค้อนยาง (Rubber Hammer) – หัวค้อนทำมาจากยางพาราซึ่งผ่านกรรมวิธีทางแคมี ทำให้มีคุณสมบัติเหนียวนุ่ม ค้อนยางใช้สำหรับขึ้นรูปชิ้นงานที่มีเนื้ออ่อน หรือใช้ตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน เช่น ใช้ในการตอกหรือเคาะก้อนบล็อกให้ได้แนวและระดับ
7.               ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) – หัวค้อนทำจากพลาสติกแข็ง หน้าตัดมีลักษณะกลม  ผิวนูนเล็กน้อย บริเวณขอบมน ค้อนพลาสติกหัวทั้งสองข้างจะเหมือนกัน มักใช้ตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงานเช่นเดียวกับค้อนยาง  เพียงแต่ว่า หัวค้อนจะสามารถถอดเปลี่ยนได้ และยังมีน้ำหนักในการเคาะชิ้นงานได้มากกว่าค้อนยางอีกด้วย
8.               ค้อนปอนด์ (Heavy Hammer) – หน้าตัดมีรูปร่างเป็นรูปแปดเหลี่ยม ผิวหน้าจะนูน และลาดเอียงไปทางขอบ มีตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับใช้งานหนักทั่วไป เช่น ใช้ในการตอกเสาหลัก หรือการตีเหล็ก

แต่ถ้าจะให้แบ่งตามวัสดุที่นำมาผลิตเป็นค้อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.               ค้อนหัวแข็ง – ค้อนประเภทนี้ หัวค้อนจะถูกทำขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรงมาก เช่นพวกเหล็กกล้า ที่นำมาตีขึ้นรูป
2.               ค้อนหัวแข็งปานกลาง – หัวค้อนก็จะถูกทำมาจากวัสดุที่มีความแข็งพอประมาณ เช่น ทองแดง หรือพลาสติก
3.               ค้อนหัวอ่อน – ค้อนประเภทนี้ หัวค้อนจะถูกทำมาจากวัสดุที่มีความหยุ่นในตัวเอง เช่น ยางไม้เนื้ออ่อน เป็นต้น

อ้างอิงจาก www.boomtools.net