วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำเทคนิคการใช้เลื่อยลันดา

     สวัสดีท่านผู้อ่าน บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง (toolsth) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง ทุกท่านครับ ซึ่งวันนี้ผมนั้นค่อนข้างอารมณ์ดีเป็นพิเศษครับอันเนื่องมาจากว่าบล็อกรอบรู้เครื่องมือช่างของผมได้ติดอันดับ Google อยู่ในหน้า 2 แล้ว >< วันนี้เลยฉลองเปลี่ยน Wallpaper ของบล็อกรอบรู้เครื่องมือช่างใหม่ซะเลย โดย Wallpaper ที่ผมเปลี่ยนก็จะสื่อถึงความหมายของบล็อกรอบรู้เครื่องมือช่างครับ สังเกตได้จาก Wallpaper ที่มีรูปของเครื่องมือช่างอยู่ครับ
     สำหรับในวันนี้ผมจะยังคงนำเสนอเนื้อหาเครื่องมือช่าง เลื่อย กันต่อไปนะครับ โดยบทความในวันนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเทคนิคในการใช้เลื่อยลันดาครับ ซึ่งบทความในครั้งนี้ก็จะเป็นบทความสั้น ๆ เหมือนเดิมครับ เอาละครับผมเกิ่นมาเยอแล้ว เรามาเข้าเนื้อหาหลักกันเลยดีกว่าครับ

     1. เริ่มแรก ควรเริ่มเลื่อยโดยชักคันเลื่อยเข้าหาตัวเราแล้วดันออกเพื่อให้ฟันเลื่อยตัดไม้ ใช้นิ้วโป้งเป็นแนวบังคับในตอนเริ่มให้อยู่ในแนวการตัด

     2. เมื่อเลื่อยจนใกล้จะเสร็จแล้ว ให้ประคองชิ้นงานที่ถูกตัดออกด้วยมือที่ว่าง แล้วค่อย ๆ เลื่อยตัดชิ้นงานจนขาด ฟันเลื่อยจะตัดชิ้นงานในจังหวะที่ดันเลื่อยออกจากตัวเรา

     3. สำหรับการตัดไม้ให้มีขนาดเท่ากัน สามารถทำได้โดยการวัดขนาด และขีดเส้นแนวการตัด สำหรับการเลื่อยชิ้นงานให้ติดกันด้วยแคล้มป์ และวางใบเลื่อยให้อยู่ในด้านที่ต้องการตัดทิ้ง

     4. การเลื่อยฝ่าไม้ตามแนวยาววัดขนาด และตีเส้นแนวการเลื่อย แล้วเลื่อยตามแนวไปเรื่อย ๆ ให้นำไม้ลิ่มมาแทรกระหว่างร่องเลื่อย เพื่อไม่ให้ไม้หนีบใบเลื่อยขณะเลื่อย

อ้างอิงจาก Homedd

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีการเลือกซื้อเลื่อยให้ตรงกับความต้องการ

     สวัสดีครับคุณผู้อ่าน toolsth (บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง หลังจากที่บทความเครื่องมือช่างเรื่องก่อนผมพูดถึงเครื่องมือช่าง "เลื่อย" ไป วันนี้ผมก็เลยจะมาเขียนบทความเครื่องมือช่างเรื่องวิธีการเลือกซื้อเลื่อยกันครับ ซึ่งบทความเครื่องมือช่างนี้จะเป็นบทความสั้น ๆ ครับ ^^ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมเข้าเรื่องเลยดีกว่าครับ
     สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะซื้อเลื่อยยังไงดีให้ตรงกับความต้องการ และการใช้งานให้ถูกประเภท วันนี้ผมจะนำเสนอวิธีการเลือกอย่างคร่าว ๆ นะครับ
ขั้นตอนที่ 1 ควรดูลักษณะการใช้งานของเราก่อนครับ ว่าเหมาะที่จะใช้เลื่อยกับงานประเภทใด เช่น ถ้าต้องการตัดงานฝีมือ มีลวดลายคดเคี้ยว เราก็ควรที่จะเลือกเลื่อยฉลุหรือเลื่อยหางหนูครับ หรือเราต้องการใช้เลื่อยในการเลื่อยไม้ที่มีขนาดใหญ่ เช่นท่อนไม้ เราก็ควรใช้เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศรครับ
ขั้นตอนที่ 2 ถ้าเรามีความต้องการใช้เลื่อยที่ใช้งานได้กว้างขวาง สำหรับการตัดไม้ทั่ว ๆ ไป ควรที่จะเลือกเลื่อยลันดาหรือเลื่อยลอครับ ซึ่งสามารถตัดไม้ได้ทั้งแบบขวางเสี้ยนไม้ และตามเสี้ยนไม้ครับ
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกลักษณะฟันเลื่อย ควรเลือกแบบที่เป็นฟันถี่พอสมควร จะได้ผิวการตัดที่ละเอียด ไม่แตกหยาบ
ขั้นตอนที่ 4 ขนาดของคันเลื่อย หรือตัวเลื่อย ควรจะเลือกขนาดที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งเลื่อยมีหลายขนาดโดยหน่วยจะเป็นนิ้ว ควรทดลองจับท่าเลื่อยดูว่าเหมาะสมกันหรือไม่

อ้างอิงจาก Homedd

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำชนิด และลักษณะของเลื่อย ตอนที่ 2


     สวัสดีท่านผู้อ่าน toolsth บล็อก (บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง หลังจากที่สัปดาห์ก่อน(หน้านู้น)ผมได้แนะนำชนิด และลักษณะของเลื่อยตอนที่ 1 สำหรับสัปดาห์นี้ผมก็ยังยังนำเสนอบทความความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่างเรื่อง ชนิด และลักษณะของเลื่อยกันต่อนะครับ (แต่เป็นตอนที่  2 นะครับ)
6. เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก เช่น การตัดท่อนไม้ขนาดต่าง ๆ หรือใช้ตัดต้นไม้ เลื่อยโครงเหล็กตัวโครงเป็นเหล็กกลวงน้ำหนักเบา ใบเลื่อยถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ใบเลื่อยสามารถตัดได้ทั้ง 2 ทาง

7. เลื่อยตัดมุมหรือเลื่อยองศา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวใบ และแท่นเลื่อย ลักษณะของใบเลื่อยจะเหมือนเลื่อยบังตอ ส่วนแท่นเลื่อยจะประกอบไปด้วย แป้นบอกองศา โครงจับใบเลื่อย ช่องบังคับใบ เลื่อย และแท่นรองรับใช้กับงานเข้ามุมต่อกันให้สนิท เหมาะกับงานตัดคิ้วบัว หรือการทำกรอบรูป
8. เลื่อยลันดา พบเห็นกันบ่อยที่สุด เพราะเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานของงานช่างไม้ เลื่อยลันดามีความยาวที่ 14, 26 เลือกใช้ตามขนาดหน้าตัดของไม้ สามารถแบ่เป็น 3 ชนิด คือ ชนิดฟันตัด มีลักษณะฟันที่ค่อนข้างพี่ ใช้สำหรับตัดขวางเนื้อไม้เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ ไม่เป็นเสี้ยน ชนิดฟันหยาบ จะมีลักษณะฟันที่หยาบ สามารถตัดได้เร็ว ใช้สำหรับตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ซึ่งฟันที่ห่างทำให้เกิดหน้าตัดที่หยาบ ความยาวทั่วไปคือ 26 ชนิดฟันอเนกประสงค์ จะมีฟันถี่พอสมควร ความยาว 26 ใช้งานได้สะดวกทั้งการตัดขวางและการตัดตามแนวยาว
9. เลื่อยบังตอ เหมาะสำหรับงานตัดหัวไม้เพื่อทำเดือยต่อต่าง ๆ ด้านสันของใบเลื่อยมีครอบเหล็กแข็ง กันใบเลื่อยบิดตัวขณะเลื่อย ทำให้ได้รอยตัดที่มีแนวเที่ยงตรง ใบเลื่อยยาว 8, 14
10. เลื่อยตัดไม้อัด ใช้สำหรับตัดไม้อัดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีขนาดฟันที่เล็ก ซึ่งช่วยลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ทั้ง 2 ด้าน ที่ปลายจะเป็นสันโค้งพร้อมมีฟันเลื่อยอยู่ด้วย ใช้สำหรับตัดส่วนอื่นที่ไม่ใช้ขอบของไม้อัดโดยไม่ต้องใช้สวว่านเจาะรูนำก่อนใบเลื่อย ยาว 11
อ้างอิงจาก Homedd

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำชนิด และลักษณะของเลื่อย ตอนที่ 1


     สวัสดีท่านผู้อ่าน toolsth บล็อก (บล็อกรอบรู้เครื่องมือช่าง) บล็อกที่คอยรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่าง สำหรับบทความความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องมือช่างที่ผมจะนำเสนอในวันนี้คือเรื่อง ชนิด และลักษณะของเลื่อยครับ

1. เลื่อยเหล็ก
     เลื่อยเหล็กเป็นเลื่อยที่เอาไว้ใช้กับงานเหล็กเป็นหลัก หากเราเอาไปใช้เลื่อยไม้ จะเลื่อยได้ช้ามาก เพราะฟันเลื่อยจะไม่ลึก ละเอียด ตัวโครงของเลื่อยเหล็กจะทำมากจากเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบา มีแบบความยาวที่มาตรฐาน และแบบสามารถปรับความยาวได้ตามขนาดของใบเลื่อยได้ เลื่อยเหล็กสามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เวลาใส่ต้องหันปลายฟันเลื่อยชี้ออกนอกตัวผู้เลื่อยเสมอ


2. เลื่อยพับขนาดกระเป๋า
     เลื่อยพับขนาดกระเป๋าจัดเป็นเลื่อยอเนกประสงค์ที่มีฟันแข็งเป็นพิเศษ สามารถตัดได้ทั้งไม้ พลาสติก โลหะ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของเลื่อยพับขนาดกระเป๋าคือ สามารถพับเก็บไว้ได้ ทำให้สามารถพกพาได้สะดวก และยังพกพาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้อีกด้วย


3. เลื่อยหางหนู
     เลื่อยหางหนูแบ่งได้ตามขนาดของใบเลื่อยอีกหลากหลายขนาด สามารถใช้ได้กับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน หรือใช้สำหรับตัดเจาะผนังยิปซั่มก็ยังได้


4. เลื่อยหางหมู
     เลื่อยหางหมูมีใบเลื่อยที่ลักษณะใหญ่ที่โค้น และที่ปลายเรียวแหลม เลื่อยหางหมูมีความกว้างที่หลากหลายขนาด บางรุ่นสามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน


5. เลื่อยฉลุ
     เลื่อยฉลุใช้กับงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย ตัวกรอบเขงอเลื่อยฉลุทำด้วยโลหะ ใบเลื่อยค่อนข้างเล็กมาก มีความอ่อนตัว สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทาง เลื่อยฉลุมี 2 ชนิดคือ ชนิดคอลึก ใช้ตัดเข้าไปในชิ้นงานได้มากกว่า เหมาะสำหรับไม้ที่ไม่หนามากนัก มีฟันที่ละเอียด และชนิดคอตื่น เหมาะสำหรับงานฉลุไม้ที่ชิ้นไม่ใหญ่นัก มีฟันค่อนข้างละเอียด



     สำหรับวันนี้เรารู้จักเลื่อยไปก่อน 5 ชนิดนะครับ ไว้สัปดาห์หน้าผมจะมานำเสนอชนิดของเลื่อยกันต่อในตอนที่ 2 นะครับ สำหรับวันนี้ผมต้องขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ
อ้างอิงจาก Homedd