วันนี้ขอนอกเรื่องเกี่ยวกับความรู้ของเครื่องมือช่างกันซะหน่อยครับ แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้นอกเรื่องซะเท่าไหร่นักหรอกครับ เพราะวันนี้ผมจะมาแนะนำร้านที่ขายเครื่องมือช่างครับ (โฆษณาว่างั้นเถอะ 555)
สำหรับร้านที่ขายเครื่องมือช่างที่ผมจะแนะนำก็คือ Boomtools Machinery ซึ่งเป็นร้านที่นำเข้า และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และเครื่องมือช่างทุกชนิด ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือช่างจากในประเทศหรือเครื่องมือช่างจากนอกประเทศทางร้านของ Boomtools ก็มีหมด นอกจากนี้ทางร้านเค้ายังยินดีรับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องมือช่างให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกด้วย ใครที่กำลังคิดจะซื้อเครื่องมือช่าง แต่ไม่รู้ว่าจะซื้อของยี่ห้อไหนหรือรุ่นอะไรดี สามารถโทรสอบถามกับทางร้าน Boomtools ได้เลยครับ หรือจะสอบจากถามทาง Email ก็ยังได้ครับ สำหรับใครที่อยากจะค้นหาหรืออยากจะเห็นรูปร่างหน้าตาของเครื่องมือช่างแต่ละชนิดด้วยตนเอง ก็สามารถเข้าไปชมกันได้ที่ www.boomtools.net ครับ ซึ่งในเว็บไซต์ได้รวบรวมเครื่องมือช่างมากกว่า 3,000 ชนิด และในตอนนี้ก็เกือบจะ 4,000 ชนิดแล้วครับ ซึ่งแน่นอนว่าทางร้าน Boomtools ไม่ได้ขายแค่นี้แน่ เพียงแต่ตอนนี้ทางร้านเค้ากำลังทยอยลงสินค้ากันอยู่ครับ
สุดท้ายนี้ผมขอฝากร้านขายเครื่องมือช่าง Boomtools Machinery ร้านนี้กันด้วยนะครับ
บูมทูลส์ แมชชีนเนอรี่
419 อ่อนนุช 66 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
Tel : 02-3213501, 027210560
Fax: 02-3218455, 027211316
Mobile : 081-7345965, 086-5225965
Website : www.boomtools.net
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
“ตะไบ (Files) ตอนที่ 1”
ตะไบเป็นเครื่องมือช่างชนิดหนึ่งที่ทำมาจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง ตะไบมักจะใช้สำหรับการขัดแต่งผิว หรือปาดหน้าชิ้นงานที่ต้องการขจัดเนื้อโลหะทิ้งไปไม่มากนัก ดังนั้น การตะไบ ก็คงจะหมายถึง การตัดเฉือนผิววัสดุงานออกในลักษณะการถากหรือขูดเพื่อลดขนาดของชิ้นงานหรือเพื่อปรับแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อยตามความต้องการ
ตะไบเป็นเครื่องมือช่างขั้นพื้นฐานที่ทำจากเครื่องมือ (Tool Steel) ด้วยการนำไปขึ้นรูปแล้วจึงนำไปชุบแข็ง(Hardening) ที่ผิวหน้าของตะไบจะมีคมตัดที่เรียกว่า "ฟันตะไบ" ซึ่งฟันตะไบเหล่านี้จะเรียงเป็นแถวขนานกันไปตลอดความยาวของก้านตะไบ และแถวของตะไบนี้จะทำมุมเอียงกับขอบตะไบอีกด้วย
ตะไบมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. หน้าตะไบ (Face) จะเป็นพื้นผิวที่ถูกเครื่องจักรกลขึ้นรูปให้มีคมตัดของตะไบเรียงตัวเป็นแถวซ้อนกันไปตลอดความยาวของหน้าตะไบ
2. ขอบตะไบ (Edge) เป็นความหนาของตะไบ ที่ขอบของตะไบจะมี 2 ชนิด
2.1 ขอบข้างเรียบ ใช้สำหรับตะไบงานที่ไม่ต้องการให้บอบข้างของตะไบตัดเฉือนเกินเนื้องานขณะที่กำลังปฏิบัติงานตะไบ
2.2 ขอบข้างมีคม มีลักษณะเป็นฟันหยาบ ๆ ใช้สำหรับขูดผิวงานเพื่อขูดสนิมหรือสิ่งสกปรกที่ผิวหน้างานก่อนจะเริ่มลงมือปฏิบัติงาน
3. ปลายตะไบ (Tip) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของตะไบใช้สำหรับมือข้างที่ไม่ถนัดประคองหรืออกแรงกดเพื่อให้คมตะไบกินเนื้อวัสดุงานมาก-น้อย ได้ตามความต้องการ
4. โคนตะไบ (Heel) เป็นส่วนที่มีการพิมพ์สัญลักษณ์ยี่ห้อของงตะไบและแหล่งที่ผลิตตะไบ อยู่ส่วนปลายด้านล่างของผิวหน้าตะไบติดกับกั่นตะไบ ที่บริเวณโคนตะไบจะไม่มีฟันตะไบอยู่
5. ความยาวตะไบ (Length) ความยาวของตะไบจะวัดจากปลายของตะไบถึงโคนของตะไบที่ผลิตขึ้นมาจะมีขนาดความยาวหลากหลายขนาดให้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของงาน
6. กั่นตะไบ (Tang) มีลักษณะเป็นปลายแหลม กั่นตะไบจะถูกยึดอยู่ภายในด้ามตะไบขนาดใช้งาน
7. ด้ามตะไบ (Handle) อาจเป็นด้ามไม้หรือพลาสติกสวมเข้ากับกั่นตะไบ เพื่อให้มือจับประคอง ในการปฏิบัติงานด้ามตะไบที่ดีควรมีลักษณะกลมมน ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้นานโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บมือ
วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เครื่องมือช่าง เครื่องขัดพื้น
เครื่องขัดพื้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำความสะอาดพื้น หรือ เครื่องสำหรับปั่นเงาพื้น เราสามารถจำแนกได้หลากหลายประเภท เช่น
· เครื่องขัดพื้นแบบ Single Disc หมายถึง เครื่องที่มีแปรงขัด และชุดจับใยขัดเป็นแบบจานกลม เพื่อขัดทำความสะอาดพื้น ปกติใช้ความเร็วรอบ 150-175rpm
· เครื่องปั่นเงาพื้น แบบ Single Dice หมายถึง เครื่องที่มีชุดจับใยขัดเป็นแบบจานกลม เพื่อปั่นเงาพื้น ปกติใช้ความเร็วรอบมากกว่า 1,000 rpm
· เครื่องขัดพื้นระบบดูดกลับอัตโนมัติ หมายถึง เครื่องขัดพื้น ที่มีถังน้ำดีเพื่อปล่อยน้ำสำหรับการขัดทำความสะอาด และมีระบบดูดน้ำสกปรกกลับใส่ลงในถังน้ำเสีย มีทั้งแบบใช้ไฟฟ้า และ แบตเตอรี่ ซึ่งจำแนกย่อยได้อีก 3 แบบ คือ แบบเดินตาม, แบบยืนขับด้านหลังเครื่อง และแบบนั่งขับบนเครื่อง
ลักษณะของแปรงขัด Roller และ Disc
แปรงขัด Roller สามารถทำความสะอาดตามล่องของพื้นได้สะอาดกว่าแปรงขัด Disc ในขณะที่ แปรงขัด Disc จะขัดทำความสะอาดได้เพียงผิวหน้าของพื้น
ข้อแตกต่างระหว่างแรงกดของแปรงขัด Roller และ Disc
เนื่องด้วยพื้นผิวสัมผัสของแปรงขัด Roller น้อยกว่าแปรงขัด Disc แต่น้ำหนักของเครื่องที่กดลงมีขนาดเท่ากัน ดังนั้น แรงกดของแปรงขัด Roller จึงมากกว่าแรงกดของแปรงขัด Disc ถึง 7 เท่า
วิธีใช้เครื่องขัดพื้น
1.วางเครื่องขัดพื้นให้ราบไปกับพื้น ใต้เครื่องจะมองเห็นตัวล๊อคสามเขี้ยว สำหรับล๊อคแปรง
2.ใส่แปรงให้ตรงกับ3เขี้ยวแล้วหมุนแปรงทวนเข็มนาฬิกาจนสุดตำแหน่งตัวล๊อค
3.วางเครื่องให้ตำแหน่งจานจับทับแผ่นปัดเงาพอดี
4.ใช้มือหมุนคลายลูกบิดล๊อคแกนเพื่อปรับระดับคันบังคับ
5.ปรับระดับคันบังคับให้อยู่ในระดับเดียวกับต้นขา และบิดลูกบิดล๊อกแกนให้แน่น
6.ปล่อยสายไฟฟ้าออกมาเท่ากับระยะที่ใช้งานและเสียบปลั๊กกับเต้าเสียบ
7.กดปุ่มเปิดสวิทซ์ไฟ
8.บีบมือบีบเครื่องจะเริ่มทำงาน หากต้องการให้เครื่องไปทางซ้ายให้กดคันบังคับลงเล็กน้อย หากต้องการให้เครื่องไปทางขวาให้ยกคันบังคับขึ้นเล็กน้อย
9.เมื่อใช้งานเสร็จ กดปุ่มปิดสวิทซ์ และดึงปลั๊กออก พันสายไฟฟ้ากลับที่เดิม และเช็ดทำความสะอาดเครื่อง
วิธีใช้เครื่องรอบสูง
1.วางเครื่องปั่นเงาพื้นให้ราบไปกับพื้น ที่ใต้เครื่องจะมองเห็นตัวหนามจับแผ่นปัดเงา
2.นำแผ่นปัดเงายึดไว้กับหนามจับ และขันตัวล๊อคทวนเข็มนาฬิกาให้แน่น
3.จากนั้นตั้งเครื่องขึ้น และปรับระดับเครื่องปั่นเงาพื้น โดยหมุนตัวปรับระดับแผ่นขัดที่หน้าเครื่อง
4.ขณะที่ปรับระดับแผ่นขัด ใช้มืออีกข้างหนึ่งหมุนที่แผ่นปั่นเงา โดยให้แผ่นสัมผัสพื้น ไม่ควรปรับน้ำหนักมากเกินไป
5.เมื่อปรับระดับเสร็จแล้ว ให้คลายล๊อคลูกิดที่แกนปรับระดับคันบังคับ ให้อยู่ในระดับต้นขา แล้วล๊อคให้แน่น
6.ปล่อย สายไฟฟ้าออกมาเท่ากับระยะที่ใช้งานและเสียบปลั๊กกับเต้าเสียบ ก่อนการทำงาน ควรยกล้อหน้าขึ้นเล็กน้อย แล้วบีบสวืทช์บังคับให้เครื่องทำงานแล้วจึงแตะพื้น
7.การออกตัวให้กดคันบังคับลงให้แผ่นขัดลอยจากพื้นเล็กน้อย ก่อนบีบมือเพื่อเริ่มทำงาน เพื่อถนอมการใช้งานของมอเตอร์ให้ยาวนานขึ้น
8.การปัดเงาให้ดันเครื่องไปข้างหน้า และฉีดน้ำยาปัดเงาพื้น ก็จะได้พื้นสวยเงางาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)